Internet Archives - JIRAYU.IN.TH โปรแกรมเมอร์, ช่างภาพ, และคนเลี้ยงแมว Tue, 18 Apr 2017 08:28:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.1 43932498 ระลึกชาติไปกับ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” /2017/04/nipa-thai-name-no-dot/ /2017/04/nipa-thai-name-no-dot/#respond Tue, 18 Apr 2017 08:25:39 +0000 /?p=3085 เมื่อสักสิบกว่าปีที่แล้ว  สมัยเน็ต 56k ยังเป็นช่องทางหลักในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  หากใครทันใช้งานอินเตอร์เน็ตยุคนั้นน่าจะเคยได้ยินบริการที่ชื่อว่า “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” กันมาบ้างแล้ว วันนี้นึกยังไงไม่ทราบ  อยู่ๆ ก็นึกถึงบริการตัวนี้ขึ้นมา  เลยลองมาเขียนให้อ่านกันเนอะ เริ่มจากว่าเว็บเบราเซอร์สมัยนั้น  ช่อง Address bar ยังไม่รวมร่างเป็นช่องเดียวกับช่องค้นหาแบบทุกวันนี้  กล่าวคือช่อง Address bar จะพิมพ์ได้เฉพาะ URL เว็บไซต์เท่านั้น  ไม่สามารถพิมพ์ค้นหาได้  ดังนั้นหากใครพิมพ์ URL ผิด  พิมพ์ชื่อเว็บผิด  หรือพิมพ์ค้นหาใดๆ ลงไป  แทนที่มันจะเปิดหน้าค้นหาให้แบบในปัจจุบัน  มันจะแสดงหน้าบอกว่าไม่พบเว็บไซต์ที่ต้องการขึ้นมาแทน ว่าไปอันที่จริงคุ้นๆ ว่า IE6 ก็รองรับการเสิร์ชเว็บถ้าไม่เจอเว็บที่พิมพ์แล้วนะ แต่ช่างเถอะ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” ทำงานอย่างไร? หลักการทำงานของการเปิดเว็บใดๆ สักเว็บ  นั่นคือเว็บเบราเซอร์จะเชื่อมต่อไปยัง DNS Server (ซึ่งปกติจะได้มาอัตโนมัติจาก ISP เมื่อเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต) จากนั้นถามเซิร์ฟเวอร์ว่าเว็บไซต์ชื่อนี้ตั้งอยู่ที่ IP Address อะไร  ก่อนที่จะเชื่อมต่อไปยัง IP Address …

The post ระลึกชาติไปกับ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
เมื่อสักสิบกว่าปีที่แล้ว  สมัยเน็ต 56k ยังเป็นช่องทางหลักในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  หากใครทันใช้งานอินเตอร์เน็ตยุคนั้นน่าจะเคยได้ยินบริการที่ชื่อว่า “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” กันมาบ้างแล้ว

วันนี้นึกยังไงไม่ทราบ  อยู่ๆ ก็นึกถึงบริการตัวนี้ขึ้นมา  เลยลองมาเขียนให้อ่านกันเนอะ

เริ่มจากว่าเว็บเบราเซอร์สมัยนั้น  ช่อง Address bar ยังไม่รวมร่างเป็นช่องเดียวกับช่องค้นหาแบบทุกวันนี้  กล่าวคือช่อง Address bar จะพิมพ์ได้เฉพาะ URL เว็บไซต์เท่านั้น  ไม่สามารถพิมพ์ค้นหาได้  ดังนั้นหากใครพิมพ์ URL ผิด  พิมพ์ชื่อเว็บผิด  หรือพิมพ์ค้นหาใดๆ ลงไป  แทนที่มันจะเปิดหน้าค้นหาให้แบบในปัจจุบัน  มันจะแสดงหน้าบอกว่าไม่พบเว็บไซต์ที่ต้องการขึ้นมาแทน

ว่าไปอันที่จริงคุ้นๆ ว่า IE6 ก็รองรับการเสิร์ชเว็บถ้าไม่เจอเว็บที่พิมพ์แล้วนะ แต่ช่างเถอะ

“นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” ทำงานอย่างไร?

หลักการทำงานของการเปิดเว็บใดๆ สักเว็บ  นั่นคือเว็บเบราเซอร์จะเชื่อมต่อไปยัง DNS Server (ซึ่งปกติจะได้มาอัตโนมัติจาก ISP เมื่อเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต) จากนั้นถามเซิร์ฟเวอร์ว่าเว็บไซต์ชื่อนี้ตั้งอยู่ที่ IP Address อะไร  ก่อนที่จะเชื่อมต่อไปยัง IP Address ของเว็บอีกที  ซึ่งถ้า DNS Server ไม่มีข้อมูลเว็บไซต์ที่เราเรียกหา  ก็จะตอบเบราเซอร์กลับมาว่าไม่เจอเว็บนั้นๆ แล้วเบราเซอร์จะแสดงหน้า Error แบบด้านบนแทน

ซึ่งจากความเข้าใจของผม “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” ก็อาศัยหลักการทำงานนี้  ไปร่วมมือกับ ISP โดยถ้ามีการคิวรี่ชื่อเว็บแปลกๆ ที่ไม่มีผลลัพธ์ในฐานข้อมูลใดๆ มายัง DNS Server (อนึ่งก็คือพิมพ์ชื่อเว็บภาษาไทยไม่มีดอท) ก็จะให้ ISP มาค้นกับฐานข้อมูลของนิภาต่อ  โดยถ้าเจอข้อมูลเว็บที่ลงทะเบียนไว้ก็จะส่งข้อมูลนั้นกลับไปหาผู้ใช้แทน  แทนที่จะส่งกลับไปว่าไม่เจอเว็บใดๆ

ดังนั้นแล้วในขั้นต้น  บริการชื่อไทยไม่มีดอทนี้จะสามารถใช้งานได้เฉพาะกับ ISP ที่ทำความร่วมมือกับทางนิภาเอาไว้เท่านั้น  ส่วนคนที่ใช้ ISP อื่น  หรือเชื่อมต่อจากต่างประเทศ  จะไม่สามารถใช้งานได้

อย่างไรก็ดี  ตอนนั้นทางนิภาได้ออก “ทูลบาร์” สำหรับ IE และส่วนขยายสำหรับ Firefox ออกมาแก้ปัญหานี้  โดยหลักการทำงานก็ง่ายๆ คือไปดักเอาตอนเปิดเว็บนั่นแหละ  ถ้าไม่เจอเว็บที่ต้องการก็ไปค้นหากับฐานข้อมูลของนิภาต่อ

สำหรับกรณีที่ค้นกับฐานข้อมูลของนิภาแล้วยังไม่เจอเว็บที่จดทะเบียนไว้  ก็จะรีไดเรคไปหน้าเว็บเสิร์ชของนิภาแทน  ซึ่งพูดตามตรงว่าไม่ตรงตามที่ต้องการเลย ฮ่าๆๆๆ

ใช้แล้วเป็นไง?

ว่ากันตามจริงแล้วตอนนั้นหลายคนก็ตื่นเต้นกับบริการชื่อไทยไม่มีดอทนี้  ผมเองก็คนหนึ่งเช่นกัน  แต่พอใช้ไปสักพักแล้วกลับพบว่าเข้าเว็บด้วย URL ภาษาอังกฤษแบบเดิม  มันจำง่ายกว่าเยอะเลย (อย่างน้อยก็ไม่ต้องมานั่งจำว่าสะกดยังไง การันต์ตรงไหน ฯลฯ) อีกทั้งเกิดอาการรำคาญหน้าเว็บเสิร์ชของนิภาที่จะขึ้นมาเมื่อตอนพิมพ์เว็บผิด

และหลังจากนั้นในเวลาต่อมา  เว็บเบราเซอร์ก็เริ่มรวมฟีเจอร์เสิร์ชเข้ามาใน Address bar ซึ่งแน่นอนว่ากูเกิลเป็นตัวค้นหา  และให้ผลการค้นหาที่ถูกต้องและรวดเร็วกว่านิภามาก

นิภา และบริการชื่อไทยไม่มีดอทในปัจจุบัน

สำหรับบริการชื่อไทยไม่มีดอท  โดยส่วนตัวคาดว่าคงปิดบริการไปแล้ว  เพราะเบราเซอร์สมัยนี้สามารถพิมพ์ค้นหาจากช่อง Address bar ได้ในตัว  แถมโดเมนแบบ Internationalized Domain Name (IDN – ชื่อไทย มีดอท) ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น  อีกทั้งสามารถใช้งานได้ทั่วโลก ทุก ISP โดยไม่ต้องมีส่วนเสริมใดๆ ทำให้บริการดังกล่าวน่าจะไม่มีความจำเป็นใดๆ อีกต่อไป

เอาจริงๆ ไอเดียชื่อไทยไม่มีดอทนี่ถือว่าล้ำมากเลยนะสำหรับตอนนั้น  แต่ใช้จริงอาจจะไม่เหมาะกับภาษาไทยสักเท่าไหร่ (เพราะเรื่องการสะกดในภาษาไทยที่จำค่อนข้างยากอย่างที่กล่าวไป) แต่ถ้าเป็นในภาษาอื่นๆ อย่างภาษาญี่ปุ่น จีน น่าจะสะกดเป็นภาษาท้องถิ่นได้ง่ายกว่าภาษาอังกฤษ  ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในแนวคิดที่ใช้ผลักดันโดเมนแบบ IDN ในปัจจุบัน

ส่วนนิภาเอง  เท่าที่ผมทราบตอนนี้เหมือนจะกลายร่างเป็น Online Marketing Agency เต็มตัว  ก่อนหน้านี้ผมเคยเห็น Ads Network ของทางนิภา (แนวๆ เดียวกับ AdSense ของกูเกิล) แต่ก็ไม่แน่ใจว่ายังเปิดให้บริการอยู่หรือเปล่า  ทั้งนี้ทางนิภาเองเหมือนจะรับทำโฆษณาของเครือข่ายอื่นด้วย  ไม่ว่าจะของกูเกิลหรือเฟซบุ๊คครับ

จบ

The post ระลึกชาติไปกับ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2017/04/nipa-thai-name-no-dot/feed/ 0 3085