IT Miscellaneous Archives - JIRAYU.IN.TH โปรแกรมเมอร์, ช่างภาพ, และคนเลี้ยงแมว Mon, 02 Aug 2021 06:47:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.1 43932498 เปลี่ยนภาพหน้าจอรายวันด้วย Bing Wallpaper บน iOS /2021/08/ios-bing-wallpaper/ /2021/08/ios-bing-wallpaper/#respond Mon, 02 Aug 2021 06:47:03 +0000 /?p=3624 จริงๆ ผมย้ายมาใช้ iPhone ได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว ซึ่งถ้าย้อนกลับไปสมัยใช้ Galaxy S9 ผมจะลง Microsoft Launcher เอาไว้ และฟีเจอร์นึงที่ผมชอบมากนั่นคือ Bing Wallpaper ที่จะช่วยเปลี่ยนวอลเปเปอร์ของเราแบบรายวัน แต่ว่าบน iOS มันไม่มีแอพนี้ (และถึงมี ระบบไม่อนุญาตให้แอพเปลี่ยนวอลเปเปอร์ได้เอง) แต่ iOS มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Shortcuts ซึ่งเปิดให้เราสามารถทำ automation แบบง่ายๆ ได้บน iOS และยังสามารถแชร์ช็อตคัทที่เราสร้างให้คนอื่นใช้ได้ด้วย ซึ่งมันก็มีคนทำช็อตคัทสำหรับ Bing Wallpaper ขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนวอลเปเปอร์ และเราสามารถใช้ฟีเจอร์ Automation ของแอพ Shortcuts เพื่อตั้งเปลี่ยนวอลเปเปอร์ใหม่ในทุกๆ วัน Bing Wallpaper shortcut ผมไปเจอช็อตคัทนี้มาบน Reddit ในกระทู้นี้ ในกระทู้จะมีอัปเดตช็อตคัทล่าสุดให้เรื่อยๆ ช็อตคัทล่าสุดที่เขียนโพสต์นี้คือเวอร์ชัน 1.4 กดตามได้จากลิงก์นี้ https://www.icloud.com/shortcuts/af603dd8a5004938af44cbd244668530 กดไปแล้วมันจะเปิดแอพ Shortcuts ขึ้นมา …

The post เปลี่ยนภาพหน้าจอรายวันด้วย Bing Wallpaper บน iOS appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
จริงๆ ผมย้ายมาใช้ iPhone ได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว ซึ่งถ้าย้อนกลับไปสมัยใช้ Galaxy S9 ผมจะลง Microsoft Launcher เอาไว้ และฟีเจอร์นึงที่ผมชอบมากนั่นคือ Bing Wallpaper ที่จะช่วยเปลี่ยนวอลเปเปอร์ของเราแบบรายวัน แต่ว่าบน iOS มันไม่มีแอพนี้ (และถึงมี ระบบไม่อนุญาตให้แอพเปลี่ยนวอลเปเปอร์ได้เอง)

แต่ iOS มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Shortcuts ซึ่งเปิดให้เราสามารถทำ automation แบบง่ายๆ ได้บน iOS และยังสามารถแชร์ช็อตคัทที่เราสร้างให้คนอื่นใช้ได้ด้วย ซึ่งมันก็มีคนทำช็อตคัทสำหรับ Bing Wallpaper ขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนวอลเปเปอร์ และเราสามารถใช้ฟีเจอร์ Automation ของแอพ Shortcuts เพื่อตั้งเปลี่ยนวอลเปเปอร์ใหม่ในทุกๆ วัน

Bing Wallpaper shortcut

ผมไปเจอช็อตคัทนี้มาบน Reddit ในกระทู้นี้ ในกระทู้จะมีอัปเดตช็อตคัทล่าสุดให้เรื่อยๆ ช็อตคัทล่าสุดที่เขียนโพสต์นี้คือเวอร์ชัน 1.4 กดตามได้จากลิงก์นี้

กดไปแล้วมันจะเปิดแอพ Shortcuts ขึ้นมา กด Add untrusted shortcut ได้เลย

Untrusted Shortcuts

ใครใช้ช็อตคัทครั้งแรกอาจจะเจอปัญหาว่าไม่สามารถเพิ่มช็อตคัทตัวนี้ได้ เพราะมีปัญหา Untrusted Shortcuts

วิธีแก้คือให้เราเข้าไปเปิด Untrusted Shortcuts ใน Settings ก่อน แต่การจะเปิด Untrusted Shortcuts ได้นั้นเราจำเป็นต้องรันช็อตคัทใดๆ ก่อนหนึ่งครั้งจึงจะสามารถเปิดได้

สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ช็อตคัทเลย พอเปิดแอพมามันจะอยู่หน้า Gallery ให้เราเลือกช็อตคัทมาสักตัวหนึ่ง ในที่นี้ผมเลือกในกลุ่ม Starter Shortcuts แล้วเลือก Show Screenshots ขึ้นมาแล้วกด Add Shortcuts

จากนั้นกลับไปที่แท็บ My Shortcuts แล้วกดรัน Show Screenshots ทีนึง กด Allow Access ให้เรียบร้อย จากนั้นมันจะเด้งรูป Screenshot ล่าสุดในเครื่องของเราขึ้นมา ให้กด Done เป็นอันเสร็จ

จากนั้นให้เปิด Settings ขึ้นมา เลือก Shortcuts แล้วกด Allow Untrusted Shortcuts

ถึงตรงนี้เราจะเพิ่มช็อตคัทใหม่ได้แล้ว ให้กลับไปกดลิงก์ช็อตคัทด้านบนใหม่ มันจะเปิดแอพช็อตคัทขึ้นมาพร้อมแสดงรายละเอียด (ยาวมาก) ให้ไถลงไปข้างล่างสุดแล้วกด Add Untrusted Shortcut สีแดงๆ แล้วเราจะได้ช็อตคัท Bing Wallpaper เพิ่มขึ้นมา จะลองกดเล่นสักทีแล้วกด Allow สิทธิ์ต่างๆ ก่อนก็ได้ (กดแล้วมันจะเปลี่ยนพื้นหลังให้อัตโนมัติเลย)

ตั้งเปลี่ยนพื้นหลังอัตโนมัติทุกวัน

ฟีเจอร์ของ Bing Wallpaper คือมันจะเปลี่ยนภาพพื้นหลังให้ใหม่ทุกวัน ซึ่งเราสามารถเลียนแบบฟีเจอร์นี้ได้ผ่านฟีเจอร์ Automation ของแอพ Shortcuts

ให้เรากดไปที่แท็บ Automation จากนั้นกดปุ่ม + และเลือก Create Personal Automation

ให้เลือกประเภทเป็น Time of Day จากนั้นตั้งเวลาให้เรียบร้อย กด Next แล้วเลือก Add Action

เลือกแอคชันเป็น Apps และเลือกแอพ Shortcuts ขึ้น จากนั้นเลือกคำสั่ง Run Shortcut

Action ที่เราเลือกจะถูกเพิ่มเข้ามาดังในภาพ ให้เราแตะที่คำว่า Shortcut สีฟ้าๆ แล้วเลือก Bing Wallpaper แล้วกด Next

หน้าจอถัดมาจะเป็นสรุปรายละเอียดของ Automation ที่เราสร้างขึ้น ให้เรากดปิด Ask Before Running พอมันขึ้นหน้าต่างมาให้เลือก Don’t Ask ไม่อย่างนั้นพอถึงเวลามันจะขึ้นค้างไว้แล้วถามเราว่าจะรันคำสั่งนี้หรือไม่

The post เปลี่ยนภาพหน้าจอรายวันด้วย Bing Wallpaper บน iOS appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2021/08/ios-bing-wallpaper/feed/ 0 3624
ตั้งค่าปุ่มเพิ่มลดเสียงบนแมค สำหรับคีย์บอร์ดแยก /2021/06/%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2/ /2021/06/%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2/#respond Tue, 01 Jun 2021 09:52:15 +0000 /?p=3615 ปกติแล้วเราสามารถกดปุ่มบนคีย์บอร์ดหรือทัชบาร์เพื่อเพิ่มลดเสียงบนแมคได้เลย แต่สำหรับคนที่ใช้คีย์บอร์ดแยก และคีย์บอร์ดไม่มีปุ่มเพิ่มลดเสียงแยกมาให้ ทำให้มันกลายเป็นปัญหาพอตัว เพราะการจะเพิ่มลดเสียงแต่ละทีต้องเปิดเมนู Sound จาก System Preferences เพื่อปรับเสียง ทางออกงคือการกำหนดปุ่มลัดขึ้นมาเพิ่มลดเสียงแทน ทั้งนี้เราต้องใช้โปรแกรมฟรีเล็กๆ ที่ชื่อว่า Spark เพื่อกำหนดปุ่มลัดนี้แทน เพราะเมนู Shortcut ของแมคมันกำหนดอะไรแบบนี้ไม่ได้ ดาวน์โหลด Spark ดาวน์โหลดมาแล้วติดตั้งให้เรียบร้อย กดเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเจอโปรแกรมหน้าตาแบบนี้ วิธีเพิ่มปุ่มลัดคือให้กดปุ่ม + ตรง HotKey Groups แล้วเลือก System (เพิ่มลดเสียงเป็น system command) แล้วเราจะเจอกับหน้าต่างกำหนดค่าแบบนี้ วิธีใช้ก็ง่ายๆ เลย ให้เราคลิกตรง click to edit ตรงช่อง Shortcut จากนั้นกดปุ่มที่เราต้องการ เช่นผมใช้เป็น Ctrl + Win + PgUp สำหรับเพิ่มเสียง และ Ctrl + Win + PgDn …

The post ตั้งค่าปุ่มเพิ่มลดเสียงบนแมค สำหรับคีย์บอร์ดแยก appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
ปกติแล้วเราสามารถกดปุ่มบนคีย์บอร์ดหรือทัชบาร์เพื่อเพิ่มลดเสียงบนแมคได้เลย แต่สำหรับคนที่ใช้คีย์บอร์ดแยก และคีย์บอร์ดไม่มีปุ่มเพิ่มลดเสียงแยกมาให้ ทำให้มันกลายเป็นปัญหาพอตัว เพราะการจะเพิ่มลดเสียงแต่ละทีต้องเปิดเมนู Sound จาก System Preferences เพื่อปรับเสียง

ทางออกงคือการกำหนดปุ่มลัดขึ้นมาเพิ่มลดเสียงแทน ทั้งนี้เราต้องใช้โปรแกรมฟรีเล็กๆ ที่ชื่อว่า Spark เพื่อกำหนดปุ่มลัดนี้แทน เพราะเมนู Shortcut ของแมคมันกำหนดอะไรแบบนี้ไม่ได้

ดาวน์โหลด Spark

ดาวน์โหลดมาแล้วติดตั้งให้เรียบร้อย กดเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเจอโปรแกรมหน้าตาแบบนี้

หน้าตาโปรแกรม Spark

วิธีเพิ่มปุ่มลัดคือให้กดปุ่ม + ตรง HotKey Groups แล้วเลือก System (เพิ่มลดเสียงเป็น system command)

แล้วเราจะเจอกับหน้าต่างกำหนดค่าแบบนี้

วิธีใช้ก็ง่ายๆ เลย ให้เราคลิกตรง click to edit ตรงช่อง Shortcut จากนั้นกดปุ่มที่เราต้องการ เช่นผมใช้เป็น Ctrl + Win + PgUp สำหรับเพิ่มเสียง และ Ctrl + Win + PgDn สำหรับลดเสียง จากนั้นตรงช่อง Action ให้เลือกคำสั่งที่ต้องการ (ในที่นี้ก็คือ Volume Up และ Volume Down) และกด Create เป็นอันเรียบร้อย

การกำหนดปุ่มลัดใน Spark จะเป็นทีละคำสั่ง ดังนั้นเราต้องเพิ่มปุ่มลัดสำหรับเพิ่มและลดเสียงแยกกัน

เสร็จ

จริงๆ โปรแกรมมันยังสามารถใช้สั่งอย่างอื่นได้ด้วย เช่นรันแอพหรือสคริปท์ที่ต้องการ หรือกำหนดช็อตคัทสำหรับพิมพ์อะไรยาวๆ ก็ได้เหมือนกัน

The post ตั้งค่าปุ่มเพิ่มลดเสียงบนแมค สำหรับคีย์บอร์ดแยก appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2021/06/%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2/feed/ 0 3615
แกะ Kindle DRM ด้วย Calibre /2020/08/calibre-crack-kindle-drm/ /2020/08/calibre-crack-kindle-drm/#respond Sat, 08 Aug 2020 17:53:02 +0000 /?p=3567 เมื่อปีที่แล้วเราเขียนถึงเครื่องอ่านอีบุ๊ก Onyx BOOX Nova ไป เรื่องหนึ่งที่เราพูดไว้นั่นคือการอ่านอีบุ๊กที่ซื้อบน Kindle Store ที่แอพ Kindle บนแอนดรอยด์นั้นทำงานบนหน้าจอ e-ink ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งทางเลือกของเราคือการใช้ Calibre ในการแกะ DRM ก่อน แล้วค่อยอิมพอร์ตเข้ามาอ่านบนเครื่อง รีวิว BOOX NOVA เครื่องอ่าน e-book หน้าจอ e-ink อย่างแรกที่ต้องมีเลยคือโปรแกรม Kindle บนคอมพิวเตอร์ ที่มีให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งสำหรับแมค (Mac App Store) และ PC ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย ดาวน์โหลด Kindle ในบทความนี้จะเป็นเวอร์ชันแมคนะครับ (บนวินโดวส์ก็จะมีวิธีคล้ายๆ กัน แต่ไดเรคทอรี่จะต่างกันนิดหน่อย) Calibre และ DeDRM Tools Calibre นั้นเป็นโปรแกรมจัดการอีบุ๊ก ที่มีความสามารถในการแปลงไฟล์ประเภทต่างๆ (เช่นแปลงเป็น epub) ส่วน DeDRM Tools นั้นเป็นปลั๊กอินที่ช่วยให้ …

The post แกะ Kindle DRM ด้วย Calibre appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
เมื่อปีที่แล้วเราเขียนถึงเครื่องอ่านอีบุ๊ก Onyx BOOX Nova ไป เรื่องหนึ่งที่เราพูดไว้นั่นคือการอ่านอีบุ๊กที่ซื้อบน Kindle Store ที่แอพ Kindle บนแอนดรอยด์นั้นทำงานบนหน้าจอ e-ink ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งทางเลือกของเราคือการใช้ Calibre ในการแกะ DRM ก่อน แล้วค่อยอิมพอร์ตเข้ามาอ่านบนเครื่อง

อย่างแรกที่ต้องมีเลยคือโปรแกรม Kindle บนคอมพิวเตอร์ ที่มีให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งสำหรับแมค (Mac App Store) และ PC ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย

ในบทความนี้จะเป็นเวอร์ชันแมคนะครับ (บนวินโดวส์ก็จะมีวิธีคล้ายๆ กัน แต่ไดเรคทอรี่จะต่างกันนิดหน่อย)

Calibre และ DeDRM Tools

Calibre นั้นเป็นโปรแกรมจัดการอีบุ๊ก ที่มีความสามารถในการแปลงไฟล์ประเภทต่างๆ (เช่นแปลงเป็น epub) ส่วน DeDRM Tools นั้นเป็นปลั๊กอินที่ช่วยให้ Calibre สามารถอ่านและแกะ DRM ของ Kindle ได้

เครื่องมือทั้งสองตัวนั้นสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

หลังดาวน์โหลดมาแล้วให้ติดตั้ง Calibre ให้เรียบร้อย และแตกไฟล์ DeDRM Tools ทิ้งเอาไว้ จากนั้นให้เปิดโปรแกรม Calibre ขึ้นมา

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรกจะมีให้เลือกรุ่นเครื่องอ่านอีบุ๊ก ใครไม่มีจะกดข้ามหรือเลือกเป็น generic ไปก่อนก็ได้ จากนั้นจะเจอหน้าจอหลักแบบนี้

หน้าจอหลักของ Calibre

ให้เราเปิดไปที่เมนู Preferences > Preferences เมื่อหน้าต่าง Preferences ขึ้นมาแล้วให้เลื่อนลงไปด้านล่างสุดจะเจอกับเมนู Plugins

หน้าต่าง Preferences

ให้เปิดหน้าต่าง Plugins ขึ้นมา

หน้าต่าง Plugins ของ Calibre

จากนั้นกดปุ่ม Get new plugins ที่มุมล่างซ้าย และติดตั้งปลั๊กอิน KFX Input ให้เรียบร้อย โดยกดเลือกปลั๊กอินและกดที่ปุ่ม Install ที่ด้านล่างขวา

เลือกติดตั้ง KFX Input

เมื่อติดตั้งปลั๊กอินเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดหน้าต่าง User plugins และกลับมาที่หน้าต่าง Plugins หลักอีกครั้ง ในคราวนี้ให้เลือก Load plugins from file และเลือกไปที่โฟลเดอร์ DeDRM Tools ที่เราแตกไฟล์ทิ้งไว้ และเลือกไฟล์ DeDRM_Plugin.zip

ในโฟลเดอร์จะมีปลั๊กอิน Obok_plugin.zip อีกตัว สำหรับเอาไว้แกะ DRM ของ Kobo

เลือกปลั๊กอิน DeDRM

เมื่อติดตั้งปลั๊กอินเสร็จแล้วโปรแกรมจะพาเรากลับมายังหน้า Plugins หลัก ในรอบนี้ให้เราเปิดไปที่หมวด File typeเลือกปลั๊กอิน DeDRM และกดปุ่ม Customize plugin ด้านล่าง

เราจะเจอหน้าต่าง Customize เล็กๆ แบบนี้ ให้กดเลือกที่ Kindle for Mac/PC ebooks (ปุ่มล่างสุด)

จากนั้นปลั๊กอินจะเปิดหน้าต่างให้เราเพิ่ม Kindle key ขึ้นมา ให้เรากดปุ่ม + สีเขียวๆ ได้เลย (จะเปลี่ยนชื่อคีย์ก็ได้ ตามสะดวก)

เสร็จแล้วให้เราปิดหน้าต่างออกมาให้หมด มาถึงตรงนี้ Calibre ก็จะพร้อมที่จะแกะ DRM ของ Kindle แล้ว

การแกะ Kindle DRM

เมื่อเราติดตั้งโปรแกรม Kindle for Mac/PC เสร็จแล้ว ให้เราเปิดโปรแกรมขึ้นมาและล็อกอินด้วยบัญชี Amazon ที่เราซื้อหนังสือ แล้วอีบุ๊กทั้งหมดที่เราซื้อไว้จะแสดงขึ้นมาในหน้าหลัก (ใครอ่านบนคอมก็อ่านจากในตัวโปรแกรมได้เลย)

ให้เราเลือกดาวน์โหลดอีบุ๊กที่ต้องการด้วยการคลิกขวาแล้วเลือก Download (หรือจะดับเบิลคลิกเปิดขึ้นมาอ่านก็ได้เช่นกัน)

ต่อไปคือการหาโฟลเดอร์เก็บไฟล์อีบุ๊ก หรือ Content folder ของ Kindle โดยค่าเริ่มต้นแล้วไฟล์อีบุ๊กของ Kindle for Mac จะเก็บอยู่ที่

/Users/<Username>/Library/Containers/com.amazon.Kindle/Data/ Library/Application Support/Kindle/My Kindle Content

ส่วนของ Kindle for PC จะอยู่ที่

C:\Users\<Username>\Documents\My Kindle Content

ทั้งนี้เราสามารถเปลี่ยนตำแหน่งโฟลเดอร์นี้ได้จากเมนู Kindle > Preferences สำหรับ Kindle for Mac หรือ Tools > Options > Content สำหรับ Kindle for PC

เมื่อเราเปิด Content folder เข้าไป จะเจอกับโฟลเดอร์ชื่อแปลกๆ แบบนี้ เป็นอันถูกต้อง

ให้เรากลับมาที่โปรแกรม Calibre และกดปุ่ม Add books ที่มุมซ้ายบน และเลือกไปที่ Content folder ในเครื่องเรา เลือกโฟลเดอร์อีบุ๊กที่ต้องการ และให้เลือกไฟล์ AZW ซึ่งเป็นไฟล์หลักของอีบุ๊ก Kindle

ในโฟลเดอร์นี้เราจะไม่รู้เลยว่าแต่ละโฟลเดอร์นั้นคืออีบุ๊กเล่มไหน กว่าจะรู้ก็คือเราอิมพอร์ตเข้ามาแล้ว แต่เราสามารถใช้ทริคง่ายๆ อย่างเช่นการเลือกเรียงไฟล์ตามวันที่แก้ไขล่าสุด (last modified) ที่จะทำให้อีบุ๊กเล่มล่าสุดที่เรากดดาวน์โหลดนั้นขึ้นมาอยู่ด้านบนสุดเสมอ

จากนั้น Calibre จะอิมพอร์ตไฟล์อีบุ๊กเข้ามาและแสดงอยู่ในหน้าจอหลักของโปรแกรม

ถึงตอนนี้ไฟล์จะถูกแกะ DRM เรียบร้อยแล้ว เราสามารถแปลงไฟล์เป็นฟอร์แมตอื่น เช่น EPUB หรือ Mobi ได้ทันที หรืออย่างในกรณีเราใช้ BOOX Nova ที่ตัวเครื่องรองรับไฟล์ AZW แบบไม่ติด DRM ก็สามารถเสียบเครื่องเข้ากับคอม แล้วส่งไฟล์เข้าเครื่องได้ทันที

สำหรับการแปลงไฟล์นั้นให้เราเลือกอีบุ๊กเล่มที่ต้องการ และเลือกเมนู Convert books ที่แถบเครื่องมือด้านบน (อันนี้ลองเล่นกันเองนะครับ)

จริงๆ แล้ว DeDRM Tools ยังสามารถใช้แกะ Adobe DRM ได้ด้วย แต่จะใช้ได้กับเวอร์ชัน 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับเวอร์ชันล่าสุดได้ ทำให้ DeDRM Tools ไม่สามารถใช้แกะ DRM ไฟล์ที่เราโหลดจากเว็บอย่าง Meb หรือ Hytexts หรือ Google Play Books ได้

The post แกะ Kindle DRM ด้วย Calibre appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2020/08/calibre-crack-kindle-drm/feed/ 0 3567
รีวิว MagicGrips อุปกรณ์เสริมที่ทำให้ Magic Mouse จับง่ายขึ้น /2019/01/magicgrips-magic-mouse-grip/ /2019/01/magicgrips-magic-mouse-grip/#respond Tue, 22 Jan 2019 20:47:48 +0000 /?p=3268 ใครที่ใช้แมคคงจะคุ้นเคยกับเมาส์คู่บุญอย่าง Magic Mouse กันเป็นอย่างดี เพราะว่าการจะหาเมาส์เนียนๆ มาใช้บนแมคนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ทำให้สุดท้ายแล้วหลายคนก็ยอมกัดฟันซื้อเมาส์ Magic Mouse ของแอปเปิลเองเพื่อเป็นการตัดปัญหาทิ้งไป แม้ว่า Magic Mouse จะใช้งานกับ macOS ได้เนียนแค่ไหน แต่ปัญหาใหญ่ของมันคือการออกแบบที่เรียกได้ว่าทรมานมือคนใช้มากๆ หลายคนถึงกับตะคริวกินเมื่อต้องใช้ไปนานๆ เลยทีเดียว แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปเจอกับอุปกรณ์เสริมตัวหนึ่ง (ซึ่งจริงๆ มันก็ออกมานานแล้ว) นั่นคือ MagicGrips อุปกรณ์เสริมสำหรับ Magic Mouse ที่ช่วยให้เราสามารถจับมันได้ถนัดขึ้น! MagicGrips เป็นผลงานของ Elevation Lab ว่ากันจริงๆ MagicGrips มันคือก้อนซิลิโคนธรรมดาๆ ที่ใช้สำหรับแปะด้านข้างของ Magic Mouse เพื่อให้จับถนัดขึ้นนั่นแหละครับ เจ้า MagicGrips นี้มีราคาขายบนหน้าเว็บอยู่ที่ $12.95 แต่ค่าส่งมาไทยก็อยู่ที่ $12.59 เกือบจะซื้อได้อีกอัน ดังนั้นทางเลือกจึงไปตกอยู่ที่ Amazon และ eBay ซึ่งจากที่ค้นดุพบว่ามีร้านในออสเตรเลียขายอยู่ที่ AU$19.95 (ประมาณ $14.30) และคิดค่าส่งเพียงแค่ …

The post รีวิว MagicGrips อุปกรณ์เสริมที่ทำให้ Magic Mouse จับง่ายขึ้น appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
ใครที่ใช้แมคคงจะคุ้นเคยกับเมาส์คู่บุญอย่าง Magic Mouse กันเป็นอย่างดี เพราะว่าการจะหาเมาส์เนียนๆ มาใช้บนแมคนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ทำให้สุดท้ายแล้วหลายคนก็ยอมกัดฟันซื้อเมาส์ Magic Mouse ของแอปเปิลเองเพื่อเป็นการตัดปัญหาทิ้งไป

แม้ว่า Magic Mouse จะใช้งานกับ macOS ได้เนียนแค่ไหน แต่ปัญหาใหญ่ของมันคือการออกแบบที่เรียกได้ว่าทรมานมือคนใช้มากๆ หลายคนถึงกับตะคริวกินเมื่อต้องใช้ไปนานๆ เลยทีเดียว

แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปเจอกับอุปกรณ์เสริมตัวหนึ่ง (ซึ่งจริงๆ มันก็ออกมานานแล้ว) นั่นคือ MagicGrips อุปกรณ์เสริมสำหรับ Magic Mouse ที่ช่วยให้เราสามารถจับมันได้ถนัดขึ้น!

MagicGrips เป็นผลงานของ Elevation Lab ว่ากันจริงๆ MagicGrips มันคือก้อนซิลิโคนธรรมดาๆ ที่ใช้สำหรับแปะด้านข้างของ Magic Mouse เพื่อให้จับถนัดขึ้นนั่นแหละครับ

เจ้า MagicGrips นี้มีราคาขายบนหน้าเว็บอยู่ที่ $12.95 แต่ค่าส่งมาไทยก็อยู่ที่ $12.59 เกือบจะซื้อได้อีกอัน ดังนั้นทางเลือกจึงไปตกอยู่ที่ Amazon และ eBay ซึ่งจากที่ค้นดุพบว่ามีร้านในออสเตรเลียขายอยู่ที่ AU$19.95 (ประมาณ $14.30) และคิดค่าส่งเพียงแค่ AU$5.59 เท่านั้น (ประมาณ $4) เลยตัดสินใจสั่งจากร้านดังกล่าว

สนใจไปสั่งซื้อกันได้ในนี้: https://ebay.to/2RHyxa3

ผมกดสั่งมาสองอัน สำหรับใช้ที่บ้านอันนึง และใช้ที่ออฟฟิสอีกอันนึง รวมเป็นเงิน 907.54 บาท และค่าส่งอีก 135.34 บาท ใช้เวลาส่งประมาณหนึ่งสัปดาห์

กล่องมันก็ไม่ได้ใหญ่มากเท่าไหร่ แค่ประมาณคิทแคทสองแผงซ้อนกันเท่านั้น ภายในกล่องจะมีแค่คู่มือติดตั้ง, แผ่นแอลกอฮอลเช็ดทำความสะอาด, และซิลิโคน MagicGrips ซึ่งเจ้าซิลิโคนนี้เขาจะให้มา 3 ชิ้น เป็นขนาดมาตรฐาน 2 ชิ้น และมีชิ้นใหญ่ให้อีกชิ้นสำหรับคนที่มือใหญ่

ที่ตัวซิลิโคนนั้นจะแปะเทปสองหน้าของ 3M มาให้อยู่แล้ว วิธีติดตั้งก็ง่ายๆ เลยคือแกะเทปสองหน้าออก แล้วก็ประกบเข้าไปข้างๆ ตัว Magic Mouse ซึ่งตัวซิลิโคนจะเข้ากับมุมโค้งและมีระดับเท่ากับยางรองใต้เมาส์พอดี

ใครที่เลือกใช้ขนาดมาตรฐานก็สามารถติดซิลิโคนขนาดมาตรฐานสองชิ้นเข้าไปที่ตัว Magic Mouse ได้เลย (มันเหมือนกันเป๊ะ) แต่ถ้าใช้จะใช้ชิ้นใหญ่ ตามคู่มือจะแนะนำให้ติดชิ้นใหญ่ไว้ฝั่งที่เราวางนิ้วโป้ง

อ้อ MagicGrips สามารถใช้ได้ทั้งกับ Magic Mouse 1 และ Magic Mouse 2 ครับ

หลังจากที่ลองใช้มาได้หนึ่งวันเต็มๆ ก็รู้สึกว่า เออ มันช่วยให้เราจับเมาส์ถนัดขึ้นจริงๆ นะ ถึงแม้มันจะไม่สบายมือเท่ากับเมาส์ ergonomic แต่ก็ช่วยให้อาการปวดนิ้วหรือนิ้วล็อคเมื่อจับเมาส์ไปนานๆ มันลดลงได้ แถมสามารถจับเมาส์ได้กระชับมือมากขึ้นด้วย

หากใครที่ใช้ Magic Mouse คู่กับเมาส์อื่นด้วย เช่นมีคอมอีกเครื่องไว้ใช้เล่นเกม จะเจอปัญหาเรื่องความจับไม่ถนัดของ Magic Mouse มากกว่าปกติ เจ้า MagicGrips นี้จะยิ่งมีประโยชน์ชัดขึ้นครับ

ใครสนใจก็ไปกดกันมาได้เลย: https://ebay.to/2RHyxa3

The post รีวิว MagicGrips อุปกรณ์เสริมที่ทำให้ Magic Mouse จับง่ายขึ้น appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2019/01/magicgrips-magic-mouse-grip/feed/ 0 3268
ระลึกชาติไปกับ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” /2017/04/nipa-thai-name-no-dot/ /2017/04/nipa-thai-name-no-dot/#respond Tue, 18 Apr 2017 08:25:39 +0000 /?p=3085 เมื่อสักสิบกว่าปีที่แล้ว  สมัยเน็ต 56k ยังเป็นช่องทางหลักในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  หากใครทันใช้งานอินเตอร์เน็ตยุคนั้นน่าจะเคยได้ยินบริการที่ชื่อว่า “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” กันมาบ้างแล้ว วันนี้นึกยังไงไม่ทราบ  อยู่ๆ ก็นึกถึงบริการตัวนี้ขึ้นมา  เลยลองมาเขียนให้อ่านกันเนอะ เริ่มจากว่าเว็บเบราเซอร์สมัยนั้น  ช่อง Address bar ยังไม่รวมร่างเป็นช่องเดียวกับช่องค้นหาแบบทุกวันนี้  กล่าวคือช่อง Address bar จะพิมพ์ได้เฉพาะ URL เว็บไซต์เท่านั้น  ไม่สามารถพิมพ์ค้นหาได้  ดังนั้นหากใครพิมพ์ URL ผิด  พิมพ์ชื่อเว็บผิด  หรือพิมพ์ค้นหาใดๆ ลงไป  แทนที่มันจะเปิดหน้าค้นหาให้แบบในปัจจุบัน  มันจะแสดงหน้าบอกว่าไม่พบเว็บไซต์ที่ต้องการขึ้นมาแทน ว่าไปอันที่จริงคุ้นๆ ว่า IE6 ก็รองรับการเสิร์ชเว็บถ้าไม่เจอเว็บที่พิมพ์แล้วนะ แต่ช่างเถอะ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” ทำงานอย่างไร? หลักการทำงานของการเปิดเว็บใดๆ สักเว็บ  นั่นคือเว็บเบราเซอร์จะเชื่อมต่อไปยัง DNS Server (ซึ่งปกติจะได้มาอัตโนมัติจาก ISP เมื่อเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต) จากนั้นถามเซิร์ฟเวอร์ว่าเว็บไซต์ชื่อนี้ตั้งอยู่ที่ IP Address อะไร  ก่อนที่จะเชื่อมต่อไปยัง IP Address …

The post ระลึกชาติไปกับ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
เมื่อสักสิบกว่าปีที่แล้ว  สมัยเน็ต 56k ยังเป็นช่องทางหลักในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  หากใครทันใช้งานอินเตอร์เน็ตยุคนั้นน่าจะเคยได้ยินบริการที่ชื่อว่า “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” กันมาบ้างแล้ว

วันนี้นึกยังไงไม่ทราบ  อยู่ๆ ก็นึกถึงบริการตัวนี้ขึ้นมา  เลยลองมาเขียนให้อ่านกันเนอะ

เริ่มจากว่าเว็บเบราเซอร์สมัยนั้น  ช่อง Address bar ยังไม่รวมร่างเป็นช่องเดียวกับช่องค้นหาแบบทุกวันนี้  กล่าวคือช่อง Address bar จะพิมพ์ได้เฉพาะ URL เว็บไซต์เท่านั้น  ไม่สามารถพิมพ์ค้นหาได้  ดังนั้นหากใครพิมพ์ URL ผิด  พิมพ์ชื่อเว็บผิด  หรือพิมพ์ค้นหาใดๆ ลงไป  แทนที่มันจะเปิดหน้าค้นหาให้แบบในปัจจุบัน  มันจะแสดงหน้าบอกว่าไม่พบเว็บไซต์ที่ต้องการขึ้นมาแทน

ว่าไปอันที่จริงคุ้นๆ ว่า IE6 ก็รองรับการเสิร์ชเว็บถ้าไม่เจอเว็บที่พิมพ์แล้วนะ แต่ช่างเถอะ

“นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” ทำงานอย่างไร?

หลักการทำงานของการเปิดเว็บใดๆ สักเว็บ  นั่นคือเว็บเบราเซอร์จะเชื่อมต่อไปยัง DNS Server (ซึ่งปกติจะได้มาอัตโนมัติจาก ISP เมื่อเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต) จากนั้นถามเซิร์ฟเวอร์ว่าเว็บไซต์ชื่อนี้ตั้งอยู่ที่ IP Address อะไร  ก่อนที่จะเชื่อมต่อไปยัง IP Address ของเว็บอีกที  ซึ่งถ้า DNS Server ไม่มีข้อมูลเว็บไซต์ที่เราเรียกหา  ก็จะตอบเบราเซอร์กลับมาว่าไม่เจอเว็บนั้นๆ แล้วเบราเซอร์จะแสดงหน้า Error แบบด้านบนแทน

ซึ่งจากความเข้าใจของผม “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” ก็อาศัยหลักการทำงานนี้  ไปร่วมมือกับ ISP โดยถ้ามีการคิวรี่ชื่อเว็บแปลกๆ ที่ไม่มีผลลัพธ์ในฐานข้อมูลใดๆ มายัง DNS Server (อนึ่งก็คือพิมพ์ชื่อเว็บภาษาไทยไม่มีดอท) ก็จะให้ ISP มาค้นกับฐานข้อมูลของนิภาต่อ  โดยถ้าเจอข้อมูลเว็บที่ลงทะเบียนไว้ก็จะส่งข้อมูลนั้นกลับไปหาผู้ใช้แทน  แทนที่จะส่งกลับไปว่าไม่เจอเว็บใดๆ

ดังนั้นแล้วในขั้นต้น  บริการชื่อไทยไม่มีดอทนี้จะสามารถใช้งานได้เฉพาะกับ ISP ที่ทำความร่วมมือกับทางนิภาเอาไว้เท่านั้น  ส่วนคนที่ใช้ ISP อื่น  หรือเชื่อมต่อจากต่างประเทศ  จะไม่สามารถใช้งานได้

อย่างไรก็ดี  ตอนนั้นทางนิภาได้ออก “ทูลบาร์” สำหรับ IE และส่วนขยายสำหรับ Firefox ออกมาแก้ปัญหานี้  โดยหลักการทำงานก็ง่ายๆ คือไปดักเอาตอนเปิดเว็บนั่นแหละ  ถ้าไม่เจอเว็บที่ต้องการก็ไปค้นหากับฐานข้อมูลของนิภาต่อ

สำหรับกรณีที่ค้นกับฐานข้อมูลของนิภาแล้วยังไม่เจอเว็บที่จดทะเบียนไว้  ก็จะรีไดเรคไปหน้าเว็บเสิร์ชของนิภาแทน  ซึ่งพูดตามตรงว่าไม่ตรงตามที่ต้องการเลย ฮ่าๆๆๆ

ใช้แล้วเป็นไง?

ว่ากันตามจริงแล้วตอนนั้นหลายคนก็ตื่นเต้นกับบริการชื่อไทยไม่มีดอทนี้  ผมเองก็คนหนึ่งเช่นกัน  แต่พอใช้ไปสักพักแล้วกลับพบว่าเข้าเว็บด้วย URL ภาษาอังกฤษแบบเดิม  มันจำง่ายกว่าเยอะเลย (อย่างน้อยก็ไม่ต้องมานั่งจำว่าสะกดยังไง การันต์ตรงไหน ฯลฯ) อีกทั้งเกิดอาการรำคาญหน้าเว็บเสิร์ชของนิภาที่จะขึ้นมาเมื่อตอนพิมพ์เว็บผิด

และหลังจากนั้นในเวลาต่อมา  เว็บเบราเซอร์ก็เริ่มรวมฟีเจอร์เสิร์ชเข้ามาใน Address bar ซึ่งแน่นอนว่ากูเกิลเป็นตัวค้นหา  และให้ผลการค้นหาที่ถูกต้องและรวดเร็วกว่านิภามาก

นิภา และบริการชื่อไทยไม่มีดอทในปัจจุบัน

สำหรับบริการชื่อไทยไม่มีดอท  โดยส่วนตัวคาดว่าคงปิดบริการไปแล้ว  เพราะเบราเซอร์สมัยนี้สามารถพิมพ์ค้นหาจากช่อง Address bar ได้ในตัว  แถมโดเมนแบบ Internationalized Domain Name (IDN – ชื่อไทย มีดอท) ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น  อีกทั้งสามารถใช้งานได้ทั่วโลก ทุก ISP โดยไม่ต้องมีส่วนเสริมใดๆ ทำให้บริการดังกล่าวน่าจะไม่มีความจำเป็นใดๆ อีกต่อไป

เอาจริงๆ ไอเดียชื่อไทยไม่มีดอทนี่ถือว่าล้ำมากเลยนะสำหรับตอนนั้น  แต่ใช้จริงอาจจะไม่เหมาะกับภาษาไทยสักเท่าไหร่ (เพราะเรื่องการสะกดในภาษาไทยที่จำค่อนข้างยากอย่างที่กล่าวไป) แต่ถ้าเป็นในภาษาอื่นๆ อย่างภาษาญี่ปุ่น จีน น่าจะสะกดเป็นภาษาท้องถิ่นได้ง่ายกว่าภาษาอังกฤษ  ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในแนวคิดที่ใช้ผลักดันโดเมนแบบ IDN ในปัจจุบัน

ส่วนนิภาเอง  เท่าที่ผมทราบตอนนี้เหมือนจะกลายร่างเป็น Online Marketing Agency เต็มตัว  ก่อนหน้านี้ผมเคยเห็น Ads Network ของทางนิภา (แนวๆ เดียวกับ AdSense ของกูเกิล) แต่ก็ไม่แน่ใจว่ายังเปิดให้บริการอยู่หรือเปล่า  ทั้งนี้ทางนิภาเองเหมือนจะรับทำโฆษณาของเครือข่ายอื่นด้วย  ไม่ว่าจะของกูเกิลหรือเฟซบุ๊คครับ

จบ

The post ระลึกชาติไปกับ “นิภา ชื่อไทยไม่มีดอท” appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2017/04/nipa-thai-name-no-dot/feed/ 0 3085
สร้างรหัสผ่านชั่วคราวของบัญชีกูเกิลด้วยฟีเจอร์ App Passwords /2016/11/google-account-app-password/ /2016/11/google-account-app-password/#respond Wed, 30 Nov 2016 10:56:51 +0000 /?p=3047 ตอนนี้หลายๆ คนคงเปิดใช้ 2-Step Authentication กันแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการรับ SMS หรือรหัสจากแอพ Authenticator แต่ทีนี้มันจะมีปัญหาอย่างนึงตามมานั่นก็คือบางบริการหรือบางโปรแกรมที่ต้องกรอกรหัสผ่านลงไปตรงๆ จะไม่สามารถใช้งานได้ขึ้นมาซะงั้น ในกรณีของ Facebook มันจะ SMS รหัสผ่านชั่วคราวมาให้ใช้ (ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่หรือเปล่า) แต่ว่ากับบัญชีของกูเกิล  มันจะมีฟีเจอร์ที่เรียกว่า App Passwords ให้เราสามารถกดสร้างรหัสผ่านชั่วคราวขึ้นมาได้  เพื่อให้เอาไปกรอกกับแอพพวกนี้นั่นเอง วิธีสร้าง App Passwords ขั้นแรกให้เปิดเว็บเข้าไปที่หน้า Google Account: https://myaccount.google.com/ จากนั้นให้กดไปที่ Sign-in & security  เราจะพบกับหน้า Security ให้เราเลื่อนลงไปดูในส่วนของ Signing in to Google แล้วกดเลือกที่ App passwords Google จะให้เราล็อกอินอีกครั้งหนึ่ง (กรอกรหัสผ่าน ใส่รหัส OTP) เพื่อยืนยันว่าเราเป็นเจ้าของบัญชีจริงๆ จากนั้นเราจะเจอกับหน้าลิสต์ App passwords ทั้งหมดของเราเอาไว้ (ใครไม่เคยใช้ก็จะไม่มีอะไรโผล่ขึ้นมาให้ครับ) ให้มองไปแถบล่างๆ …

The post สร้างรหัสผ่านชั่วคราวของบัญชีกูเกิลด้วยฟีเจอร์ App Passwords appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
ตอนนี้หลายๆ คนคงเปิดใช้ 2-Step Authentication กันแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการรับ SMS หรือรหัสจากแอพ Authenticator แต่ทีนี้มันจะมีปัญหาอย่างนึงตามมานั่นก็คือบางบริการหรือบางโปรแกรมที่ต้องกรอกรหัสผ่านลงไปตรงๆ จะไม่สามารถใช้งานได้ขึ้นมาซะงั้น

ในกรณีของ Facebook มันจะ SMS รหัสผ่านชั่วคราวมาให้ใช้ (ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่หรือเปล่า) แต่ว่ากับบัญชีของกูเกิล  มันจะมีฟีเจอร์ที่เรียกว่า App Passwords ให้เราสามารถกดสร้างรหัสผ่านชั่วคราวขึ้นมาได้  เพื่อให้เอาไปกรอกกับแอพพวกนี้นั่นเอง

วิธีสร้าง App Passwords

ขั้นแรกให้เปิดเว็บเข้าไปที่หน้า Google Account: https://myaccount.google.com/

จากนั้นให้กดไปที่ Sign-in & security  เราจะพบกับหน้า Security ให้เราเลื่อนลงไปดูในส่วนของ Signing in to Google แล้วกดเลือกที่ App passwords

Google จะให้เราล็อกอินอีกครั้งหนึ่ง (กรอกรหัสผ่าน ใส่รหัส OTP) เพื่อยืนยันว่าเราเป็นเจ้าของบัญชีจริงๆ

จากนั้นเราจะเจอกับหน้าลิสต์ App passwords ทั้งหมดของเราเอาไว้ (ใครไม่เคยใช้ก็จะไม่มีอะไรโผล่ขึ้นมาให้ครับ) ให้มองไปแถบล่างๆ จะเจอกล่อง [Select app] on my [Select device]

ในส่วน Select app ให้กดเลือกแอพที่จะใช้งาน (เลือก Other ถ้าเป็นบริการอื่นๆ ที่ไม่มีในลิสต์) และส่วน Select device ให้เลือกอุปกรณ์ที่จะใช้งานเช่นกัน (เลือก Other ถ้าไม่มีในลิสต์)

คือจริงๆ แล้วในส่วนนี้เราจะเลือกอะไรก็ได้ครับ  ข้อมูลที่เราเลือกมันจะเอาไปสร้างเป็นชื่อของ App passwords ให้เราจำได้ง่ายๆ เฉยๆ

เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้วให้กดที่ Generate มันก็จะสร้างรหัสผ่านชั่วคราวขึ้นมาให้  ก็เอารหัสผ่านนี้ไปกรอกใช้งานได้ตามปกติครับ

การลบรหัสผ่านชั่วคราว

เมื่อเราไม่ได้ใช้งานแอพหรือบริการนั่นๆ แล้ว  เราก็สามารถกลับมาในหน้า App password แล้วกดปุ่ม Revoke เพื่อลบรหัสผ่าชั่วคราวที่เลิกใช้แล้วได้ตลอดเวลาครับ

The post สร้างรหัสผ่านชั่วคราวของบัญชีกูเกิลด้วยฟีเจอร์ App Passwords appeared first on JIRAYU.IN.TH.

]]>
/2016/11/google-account-app-password/feed/ 0 3047